järn

ธาตุเหล็กคืออะไรและมีผลกระทบต่อส่วนเกินและการขาดของร่างกายอย่างไร?

เหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิกิริยา ทางชีวเคมีจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงอีกด้วย การขาดเหล็กจึงส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย ตลอดจนอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ อย่างไรก็ตาม จากการที่เหล็กมีบทบาทสำคัญในการเกิดอนุมูลอิสระ ปริมาณเหล็กในร่างกายที่มีมาก เกินความต้องการอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ร่างกาย จึงจำเป็นต้องมีกลไกการควบคุมสมดุลเหล็กที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาระดับธาตุเหล็กให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ในภาวะปกติ ร่างกายจะมีอุปสงค์ธาตุเหล็กประมาณ ๒๐ ถึง ๒๕ มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งส่วน ใหญ่จะถูกใช้ในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน โดยแหล่งอุปทานหลัก ได้แก่ ม้าม ซึ่งทำหน้าที่สลาย ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุและปลดปล่อยเหล็กในโมเลกุลฮีโมโกลบินกลับเข้าสู่กระแส โลหิต เพื่อให้ร่างกายสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้อีก นอกจากนี้ ร่างกายยังได้รับเหล็กอีก ๑ ถึง ๒ มิลลิกรัมต่อวันจากอาหาร ผ่านทางการดูดซึมที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เพื่อทดแทนเหล็กที่สูญเสียไปจาก การหลุดลอกของเซลล์เยื่อบุลำไส้ ซึ่งอยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

อนึ่งร่างกายจะมีปริมาณเหล็กทั้งสิ้น ๓ ถึง ๕ กรัม โดย ๒ ใน ๓ จะอยู่ในรูปของ functional iron ซึ่งมีฮีโมโกลบินเป็นสมาชิกหลัก สำหรับเหล็กอีกส่วนหนึ่งจะอยู่ในรูปของเหล็กสะสม เช่น ferritin ที่มีหน้าที่สะสมเหล็กในเซลล์ให้อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ นอกจากนี้ ในกระแส โลหิต จะพบเหล็กในรูปของ transferrin ซึ่งมีบทบาทในการขนส่งเหล็กระหว่างแหล่งอุปทาน (ม้าม และลำไส้เล็ก), แหล่งอุปสงค์ (ไขกระดูก) และแหล่งสะสมเหล็ก (ตับ)

แร่ธาตุนี้ดีต่อร่างกายอย่างไร

  • ช่วยการเจริญเติบโต
  • ส่งเสริมความต้านทานการเจ็บป่วย
  • ป้องการการอ่อนเพลีย
  • รักษาและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ช่วยฟื้นคืนความเนียนของสีผิว

แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับธาตุเหล็กจากการรับประทานเข้าไปอย่างเพียงพอ โดยแหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงก็คือ ปลา เป็ด ไก่ ตับ ม้าม อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่แดง และอาหารเช้าซีเรียล ส่วนอาหารที่จะช่วยเสริมธาตุเหล็กในร่างกายได้เช่นกันคือ ผักใบเขียวเข้มทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ใบตำลึง ผักโขม รวมทั้งถั่วดำ ข้าวโอ๊ต และถั่วแดง เป็นต้น

สำหรับสารอาหารธาตุเหล็กนั้น ร่างกายจะมีกระบวนการดูดซึมซึ่งอยู่ในส่วนของลำไส้เล็ก โดยสารอาหารธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์จะถูกดูดซึมได้ดีกว่าสารอาหารธาตุเหล็กที่มาจากพืช และนอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังมีการดูดซึมได้ดีในภาวะที่น้ำย่อยอาหารมีความเป็นกรดอยู่ อีกทั้งยังมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสารที่มีส่วนในการลดการดูดซึมธาตุเหล็กได้แก่ ยาเคลือบกระเพาะ ยาลดกรด อาหารที่มีใยอาหารสูง อาหารที่มีแคลเซียมสูง และสาร Tannin ที่มีอยู่ในชาและกาแฟ

เหล็ก

ข้อเท็จจริง

  • เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง มีความสำคัญต่อการผลิตเฮโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) ไมโอโกลบิน (เม็ดสีแดงในกล้ามเนื้อ) และเอนไซม์บางชนิด
  • มีเพียงแค่ร้อยละ 8 ของธาตุเหล็กที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น ที่ร่างกายดูดซึมและเข้าสู่กระแสเลือดได้
  • ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัว 154 ปอนด์ (ประมาณ 70 กก.) จะมีธาตุเหล็กประมาณ 4 กรัมในร่างกาย เฮโมโกลบินซึ่งเป็นที่สะสมของธาตุเหล็กส่วนใหญ่ในร่างกาย ถูกย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่ ตามวงจรชีวิตของเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีระยะเวลา 120 วัน ส่วนธาตุเหล็กที่เกาะกับโปรตีน (เฟอร์ริติน) และธาตุเหล็กในเนื้อเยื่อ (ในไมโอโกลบิน) ถูกเก็บสะสมในร่างกายในปริมาณเพียงเล็กน้อย
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันตามที่สถาบันวิจัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา แนะนำคือ 10-15 มก. สำหรับผู้ใหญ่ และ 30 มก. สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ส่วนหญิงให้นมบุตร ขนาดที่แนะนำเท่ากับผู้หญิงปกติ (15 มก.)
  • ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และวิตามินซี มีความสำคัญต่อการดูดซึมของธาตุเหล็ก
  • ธาตุเหล็กจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญของวิตามินบี
  • สังกะสีและวิตามินอีในปริมาณมากเกินไป ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก
  • ธาตุเหล็กในกระแสเลือดที่มากเกินไป กระตุ้นการก่อตัวของอนุมูลอิสระ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ โดยเฉพาะในผู้ชาย

ความต้องการธาตุเหล็ก

คนเราต้องการธาตุเหล็กจากอาหาร เพื่อทดแทนการสูญเสียธาตุเหล็กที่เกิดขึ้นในแต่ละวันทางผิวหนังและเหงื่อ และการสูญเสียเวลามีประจำเดือน รวมทั้งความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากการเจริญเติบโตหรือการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปปริมาณธาตุเหล็กที่อยู่ในน้ำนมแม่จะมีมากพอสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง ุ6 เดือน เนื่องจากมีเหล็กสะสมในร่างกายตั้งแต่ระยะที่อยู่ในครรภ์มารดา ธาตุเหล็กที่อยู่ในน้ำนมแม่สามารถดูดซึมได้ดีกว่าน้ำนมวัว เด็กทารกที่ไม่ได้ดื่มนมแม่จำเป็นที่จะต้องใช้นมผงที่มีการเสริมธาตุเหล็กด้วย เมื่อเด็กอายุ 6 เดือนแล้ว ธาตุเหล็กที่สะสมในเด็กจะถูกใช้หมดไป จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมอื่นที่มีเหล็กสูง เช่น ไข่แดง ตับ เพิ่มขึ้นจากนมแม่ด้วย ความต้องการธาตุเหล็กจะมีมากในช่วง 2 ขวบปีแรก และระยะวัยรุ่น เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพศหญิงจะมีความต้องการธาตุเหล็กมากกว่าเพศชาย เนื่องจากมีการสูญเสียเลือดขณะมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเพียงอย่างเดียว มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงต้องกินยาเม็ดธาตุเหล็กเสริมด้วย

ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง หน้าที่หลักคือรวมกับโปรตีนและทองแดง เพื่อสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารที่ให้สีของเม็ดเลือดแดง จะเป็นตัวส่งออกซิเจนในเลือดจากปอดไปยังอวัยวะต่างๆ

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

  • เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง
  • เลือด
  • ตับ
  • เครื่องในสัตว์
  • ธัญพืช เช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี
  • แป้ง
  • ไข่แดง
  • อาหารทะเล
  • ปลา
  • เป็ด
  • ไก่

ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ
อย่างไรก็ดี อาหารบางประเภทยังอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายได้ ซึ่งอาหารที่ว่าก็อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ข้าวไม่ขัดสี ชา กาแฟ ซึ่งถ้าต้องการธาตุเหล็กก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย

ส่วนอาหารที่จะช่วยเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กก็ได้แก่ อาหารอุดมวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ สตรอว์เบอร์รี ส้มโอ กีวี เป็นต้น ซึ่งก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ระหว่างรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กเข้าไปใช้ได้อย่างสะดวกขึ้นนะคะ

การรักษา

ก่อนเริ่มรักษา ควรจะวินิจฉัยให้ชัดเจนถึงเหตุขาดธาตุเหล็ก นี่สำคัญเป็นพิเศษในคนสูงอายุ ผู้เสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นเหตุให้เลือดออกในทางเดินอาหาร ในผู้ใหญ่ 60% ของคนไข้ที่มีภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กอาจมีโรคในทางเดินอาหารที่เป็นเหตุให้เลือดออกอยู่เรื่อย ๆ เพราะว่า เป็นไปได้ว่าเหตุของการขาดธาตุเหล็กจำเป็นต้องรักษาด้วย

เมื่อได้วินิจฉัยที่สมควรแล้ว อาการสามารถรักษาได้ด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริม วิธีการเสริมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความจำเป็นให้หายเร็ว (เช่น ถ้ากำลังรอการผ่าตัด) และโอกาสที่วิธีการรักษาจะมีประสิทธิผล (เช่น ถ้าเหตุของอาการมาจาก Inflammatory bowel disease, กำลังล้างไตอยู่, หรือว่ากำลังรักษาโดย erythropoiesis-stimulating agent อยู่) ตัวอย่างของยาทานที่เสริมเหล็กรวมทั้ง ferrous sulfate, ferrous gluconate, และเหล็กที่ยึดกับกรดอะมิโน (amino acid chelate tablets) งานวิจัยปี 2548 แสดงว่า การทดแทนธาตุเหล็ก อย่างน้อยในผู้สูงอายุที่ขาด อาจน้อยแพียงแค่ 15 มก. ต่อวันของธาตุเหล็ก

นักโภชนาการด้านอาการกินไม่หยุดที่ได้รับการรับรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องสำอางที่ดำเนินการฝึกส่วนตัวในกรุงเทพ นักข่าวด้านสุขภาพและผู้ร่วมก่อตั้ง บ้านเพื่อสุขภาพ ในกรุงเทพ รักในการเขียนและมอบวิธีแก้ปัญหาให้ผู้คนเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น เธอรักในการท่องเที่ยวและเรียนรู้ทุกวันเพื่อเป็นคนที่ดียิ่งขึ้น เป็นแม่และภรรยาที่มีความสุข

We are using cookies on our website

Please confirm that you accept our Privacy Policy. Privacy Policy